แบบทดสอบกรุงศรีอยุธยา
http://quickr.me/cbj9wnQ
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า
การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว
มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน
บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอ โยธยา
และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น
โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้น
ขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้าง
พระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก
นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า
จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ
นครอโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี
พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยา
อยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความ
เป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น
โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ
ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึง
อพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน
หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน
ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1
ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง
และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม
ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้
ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จ สวรรคต
หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์
ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจ
ระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครอง ราชย์ต่อ
จากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มี
ศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช
เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมา
ชิงราชสมบัติกลับคืน
มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี
จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้น
อยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสอง
ฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจ
กันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง
จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี
สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ
เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวก
และพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา
จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น
เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้
กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์
กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ
ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม
หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่
ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออก
ไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก
รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครอง
ที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบ
อำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น
หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแล
โดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นา
ได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้
และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น
ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและ
มีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย
พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวัง
ไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดคู่เมืองที่สำคัญ
กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทาง
คมนาคมอันสะดวก ที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ
กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้น ล้านนา
ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา
เป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมา
จนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก
เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูป
การปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา
จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่
ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง
สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว
นานอยู่ถึง 7 ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้ ตลอดรัชกาล
อันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง 81 ปี การค้ากับต่างประเทศ
ก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนา
และประเพณีต่าง ๆ แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2การแย่งชิงอำนาจภายใน
ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด
สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้
เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่า เมื่อวาสโก
ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.2000
กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.2054
อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ
ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรก
ที่มาถึงแผ่นดินสยาม ชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ
สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก
ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จ กรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ
พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้
สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง
กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช
ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง
ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น
หลังพระเจ้าไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตเพราะถูกปลงพระชนม์
แผ่นดินอยุธยาก็อ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจ พระยอดฟ้าซึ่งมีพระ
ชนม์เพียง 11 พรรษาขึ้นครองราชย์ได้ไม่ทันไรก็ถูกปลงพระชนม์อีก
ในที่ สุดก็ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าสบโอกาสยกทัพผ่านด่านเจดีย์ 3 องค์
เข้ามาปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดินำกองทัพออกรับสู้
ในช่วงนี้เองที่หน้า ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวีรกรรมของวีรสตรีพระองค์หนึ่ง
คือ สมเด็จพระศรี สุริโยทัย ที่ปลอมพระองค์ออกรบด้วย และได้ไสช้างเข้าขวาง
สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ จนถูกฟันสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง
ทุกวัน นี้อนุสาวรีย์เชิดชูวีรกรรมของพระองค์ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ใจกลาง
เมืองพระนครศรีอยุธยา
ครั้งนั้นเมื่อพม่ายึดพระนครไม่สำเร็จ เพราะไม่ชำนาญภูมิ ประเทศ
กองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องยกทัพกลับไปในที่สุด ฝ่ายไทยก็ตระเตรียม
การป้องกันพระนครเพื่อตั้งรับการรุกราน ของพม่าที่จะมีมาอีก การเตรียมกำลังผู้คน
การคล้องช้างเพื่อจัดหาช้างไว้ เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกครั้งนี้
ทำให้มีการพบช้างเผือกถึง 7 เชือก อันเป็นบุญบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์
แต่นั่นกลับนำมาซึ่งสงคราม ยืดเยื้อยาวนานอยู่นับสิบปี
พระเจ้าบุเรงนอง ผู้นำพม่าคนใหม่อ้างเหตุการณ์ต้องการช้างเพื อกที่
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีอยู่ถึง 7 เชือก ยกทัพมาทำสงครามกับ
กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง แล้วไทยก็เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2112
ช้างเผือกอัน เป็นสาเหตุของสงครามก็ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับผู้คนจำนวนมาก
พระ นเรศวรและพระเอกาทศรถ พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่พม่าตั้งให้
เป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยาต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชก็ทรงถูกบังคับ ให้ต้องไปด้วย
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในครั้งนี้อยู่ถึง 15 ปี พระ นเรศวรก็ประกาศอิสรภาพ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้ว กองทัพพม่านำโดย พระมหาอุปราชก็คุมทัพลงมาปราบ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตั้งที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี
แล้วการรบครั้งยิ่งใหญ่ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ
พระมหาอุปราชถูกฟัน สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง เป็นผลให้กองทัพพม่าต้องแตกพ่ายกลับไป
ยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง
ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นตามมา
อันส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด
ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว
นับตั้งแต่สมัยพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรี อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า
ทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทาง เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมากต่างก็ชื่นชม
เมืองที่โอบล้อมไปด้วยแม่ น้ำลำคลอง ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้เรือเป็นพาหนะ
จึงพากันเรียกพระ นครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก
หลังจากโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้ว ฮอลันดา
ญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีนซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
อยู่ก่อนแล้ว ชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ
ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน
บันทึกของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้คัด ลอกมา เล่าถึงพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้นไว้ว่า เป็นพระนครที่มีผู้คนต่างชาติต่างภาษารวมกันอยู่ ดูเหมือนเป็น ศูนย์กลางการค้าขายในโลก ได้ยินผู้คนพูดภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา
ในบรรดาชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในยุคแรกนั้น ญี่ปุ่น กลับเป็นชาติที่มี
อิทธิพลมากที่สุด ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่นได้รับ ความไว้วางใจถึงขั้นได้
ดำรงตำแหน่งขุนนางในราชสำนักของพระเอกาทศ รถ มียศเรียกว่า ออกญาเสนาภิมุข
ต่อมาได้ก่อความยุ่งยากขึ้นจด หมดอิทธิพลไปในที่สุด
แม้จะมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายด้วยมากมาย แต่กรุงศรี อยุธยาก็ดูเหมือน
จะผูกพันการค้ากับจีนไว้อย่างเหนียวแน่น จีนเองก็ส่ง เสริมให้อยุธยาผลิต
เครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะเครื่องสังคโลก เพื่อส่งออก ไปยังตะวันออกกลาง
และหมู่เกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้
กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษี
อยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก
นอกเหนือจากความเป็นเมืองท่าแล้ว อยุธยายังเป็นชุมทางการ ค้าภายในอีกด้วย
ตลาดกว่า 60 แห่งในพระนคร มีทั้งตลาดน้ำ ตลาดบก และยังมีย่านต่าง ๆ
ที่ผลิตสินค้าด้วยความชำนาญเฉพาะด้าน มีย่านที่ ผลิตน้ำมันงา ย่านทำมีด
ย่านปั้นหม้อ ย่านทำแป้งหอมธูปกระแจะ ฯลฯ คูคลองต่าง ๆ ในอยุธยา
ได้สร้างสังคมชาวน้ำขึ้นพร้อมไปกับวิถี ชีวิตแบบเกษตรกรรม เมื่อถึงหน้าน้ำก็มี
การเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง
งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น
พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป
พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว
อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น
อยุธยาเจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อ
สินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของ
ราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการ
ก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม
ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่
ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายัง
กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระจเาปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยา
เป็นครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวย
ที่สุดในภาคตะวันออกนี้
พระนครแห่งนี้ ภายนอกอาจดูสงบงดงามและร่มเย็นจากสายตา ของคน
ภายนอก แต่แท้จริงแล้วบัลลังก์แห่งอำนาจภายในของกรุงศรี อยุธยาไม่เคยสงบ
เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต การแย่งชิงอำนาจได้
ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.2172 ราชวงศ์สุโขทัยที่ครองราชย์
สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยของพระมหาธรรมราชาก็ถูกโค่นล้ม พระเจ้า
ปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น ใหม่
แม้จะครองบัลลังก์จากการโค่นล้มราชวงศ์อื่นลง ยุคสมัยของ พระองค์และ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง 60 ปีนั้น กลับ เรียกได้ว่าเป็น
ช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรง
มุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลป กรรมและการค้ากับต่างประเทศ
ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติ
เขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม
พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลป กรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้
ทางด้านการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาค้า ขายกับกรุงศรีอยุธยา
จนทำให้เมืองลิสบอนของโปรตุเกสกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าเครื่องเทศ
และพริกไทยในยุโรปนานเกือบศตวรรษแล้ว ฮอลันดาจึงเริ่มเข้ามาสร้างอิทธิพลแข่ง
กรุงศรีอยุธยาสร้างไมตรีด้วยการให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่พวก ดัตช์ เพื่อถ่งดุล
กับชาวโปรตุเกสที่เนิ่มก้าวร้าวและเรียกร้องสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกขณะ
พอถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง การค้าของฮอลันดาเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาก
จึงเริ่มแสดงอิทธิพลบีบคั้นไทย ประกอบกับพระคลังในสมัยนั้นได้
ดำเนินการผูกขาดสินค้าหลายชนิด รวมทั้งหนังสัตว์ที่เป็นสินค้าหลักของ
ชาวดัตช์ ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงขั้นจะใช้กำลังกันขึ้น
ถึงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาก็คุกคามหนัก ขึ้น
ในที่สุดก็เข้ายึดเรือสินค้าของพระนารายณ์ที่ชักธงโปรตุเกสในอ่าวตัง เกี๋ย
ต่อมาไม่นานก็นำเรือ 2 ลำเข้ามาปิดอ่าวไทย เรียกร้องไม่ให้จ้างชาว จีน ญี่ปุ่น
และญวนในเรือสินค้าของอยุธยา เพื่อปิดทางไม่ให้อยุธยาค้า ขายแข่งด้วย
มีการเจรจากันในท้ายที่สุด ซึ่งผลจากการเจรจานี้ทำให้ ฮอลันดาได้สิทธิ์ผูกขาด
หนังสัตว์อย่างเดิม
เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ
สมเด็จพระนารายณ์จึงหัน ไปเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศสแทน ในช่วงนี้เอง
ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับ ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด บุคคลผู้หนึ่งที่
ก้าวเข้ามาในช่วงนี้และต่อไปจะได้มี บทบาทอย่างมากในราชสำนักสยาม ก็คือ
คอนแสตนติน ฟอลคอน
ฟอลคอนเป็นชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ราวกลาง
รัชสมัย และเจริญก้าวหน้าจนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ในเวลาอันรวดเร็ว เวลาเดียว
กันกับที่ฟอลคอนก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักไทย ฝรั่งเศสในราชสำนักกของ
พระเเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาติดต่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาก็พยายามเกลี้ยกล่อม
ให้สมเด็จพระนารายณ์หันมาเข้ารีตนิกกายโรมันคาทอลิกตามอย่างประเทศฝรั่งเศส
ในช่วงเวลานี้ได้มีการส่งคณะทูตสยามเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี
ทางฝรั่งเศสเองก็ส่งคณะทูตเข้ามาในสยามบ่อยครั้ง โดยมีจุดประสงค์หลักคือชัก
ชวนให้พระนารายณ์ทรงเข้ารีต ฟอลคอนเองซึ่งเปลี่ยนมานับถือนิกาย โรมันคาทอลิก
ตามภรรยา ไดด้สมคบกับฝรั่งเศสคิดจะเปลี่ยนแผ่นดินสยามให้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ดังเช่นใน พ.ศ. 2228 โดยราชทูตเชอวาเลีย เดอโชมองต์, ปี พ.ศ. 2230 โดยลาลูแบร์
ก็กลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนให้พระเจ้าแผ่น ดินสยามหันมาเข้ารีต
ไม่นานชาวสยามก็เริ่มชิงชังฟอลคอนมากขึ้น อิทธิพลของฟอลคอนที่มีต่อราช
สำนักกสยามก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวน หนัก
ไม่สามารถว่าราชกาลได้ มีรับสั่งให้ฟอลคอนรีบลาออกจากราชการและไป เ
สียจากเมืองไทย แต่ก็ช้าไปด้วยเกิดความวุ่นวายขึ้นเสียก่อน พระเพทราชาและ
คณะผู้ไม่พอใจฝรั่งเศสจับฟอลคอนไปประหารชีวิต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ
สวรรคตในเดือนต่อมาพระเพทราชาก็เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติแทน
การเข้ามาของยุโรปจำนวนมากในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จ
พระนารายณ์ นอกจากจะทำให้บ้านเมืองมีความมั่งคั่งแล้ว ยังก้าวหน้าไปด้วยวิทยา
การสมัยใหม่ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ การทหาร มีการ
ก่อสร้างอาคาร ป้อมปราการ พระที่นั่งในพระราชวังเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีแบบ
ตะวันตก นอกจากนี้ภาพวาดของชาวตะวันตกยังแสดงให้เห็นว่ามีการส่องกล้องดู
ดาวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
ความขัดแย้งภายในเมื่องจากการแย่งชิงราช สมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชา
จนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่อย่าง
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา
การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย
ในรัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม
เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ
มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ
เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น
ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม
ด้วยเสียงดนตรัและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา
แต่ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ
ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง ทำให้อีกไม่ถึง 10 ปีต่อ
มากรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พพม่าในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2310
กรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าบรมโกศจนถึงสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น
คล้ายกับพลุที่จุดขึ้นสว่างโร่บนท้องฟ้าชั่วเวลาเพียงไม่นานแล้วก็ดับวูบลงทันที
วักรุงแตกเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เล่ากัยว่าในกำแพงเมืองมีผู้คนหนีพม่า
มาแออัดอยู่นับแสนคน ปรากฏว่าได้ถูกพม่าฆ่าตายไปเสียกว่าครึ่ง ที่เหลือก็หนี
ไปอยู่ตามป่าตามเขา พม่าได้ปล้นสะดม เผาบ้านเรือน พระราชวังและวัดวาอาราม
ต่างๆจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังหลอมเอาทองที่องค์พระและกวาดต้อนผู้คนกลับ
ไปจำนวนมาก อารยธรรมที่สั่งสมมากว่า 400 ปี ของกรุงศรีอยุธยาก็ถูกทำลาย
ลงอย่างราบคาบเมื่อสิ้นสงกรานต์ปีนั้น
หลังจากกรุงแตกแล้วพม่าก็มิได้เข้ามาปกครองสยามอย่างเต็มตัว คงทิ้งให้สุกี้
พระนายกองตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย สภาพบ้าน
เมืองหลังจากเสียแก่พม่าแล้วก็มีชุมนุมเกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ได้แก่ ชุมนุม เจ้าฝาง
ชุมนุมเจ้าตาก ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ที่ต่าง
ก็ซ่องสุมผู้คนเพื่อเตรียมแผนการใหญ่
ในบรรดาชุมนุมใหญ่น้อยเหล่านี้ ชุมนึมพระเจ้าตากได้เติบโตเข้มแข็งขึ้นเมื่อ
ยึดได้เมืองจันทบุรี กองทัพพระเจ้าตากใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมผู้
คนตระเตรียมเรือรบ แล้วจึงเดินทัพทางทะเลขึ้นมาจนถึงเมืองธนบุรี เข้ายึด
เมืองธนบุรีได้แล้ว ไม่นานก็ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกในวันที่ 7 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2310 นับรวมเวลาในการกอบกู้เอกราชไม่ถึงหนึ่งปี
สมดังคำที่ว่า "กรุง ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี"
กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า
การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว
มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน
บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอ โยธยา
และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น
โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้น
ขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้าง
พระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก
นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า
จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ
นครอโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี
พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยา
อยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความ
เป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น
โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ
ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึง
อพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน
หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน
ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1
ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง
และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม
ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้
ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จ สวรรคต
หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์
ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจ
ระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครอง ราชย์ต่อ
จากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มี
ศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช
เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมา
ชิงราชสมบัติกลับคืน
มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี
จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้น
อยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสอง
ฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจ
กันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง
จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี
สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ
เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวก
และพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา
จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น
เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้
กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์
กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ
ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม
หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่
ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออก
ไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก
รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครอง
ที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบ
อำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น
หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแล
โดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นา
ได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้
และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น
ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและ
มีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย
พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวัง
ไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดคู่เมืองที่สำคัญ
กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทาง
คมนาคมอันสะดวก ที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ
กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้น ล้านนา
ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา
เป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมา
จนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก
เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูป
การปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา
จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่
ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง
สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว
นานอยู่ถึง 7 ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้ ตลอดรัชกาล
อันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง 81 ปี การค้ากับต่างประเทศ
ก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนา
และประเพณีต่าง ๆ แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2การแย่งชิงอำนาจภายใน
ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด
สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้
เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่า เมื่อวาสโก
ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.2000
กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.2054
อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ
ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรก
ที่มาถึงแผ่นดินสยาม ชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ
สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก
ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จ กรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ
พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้
สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง
กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช
ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง
ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น
หลังพระเจ้าไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตเพราะถูกปลงพระชนม์
แผ่นดินอยุธยาก็อ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจ พระยอดฟ้าซึ่งมีพระ
ชนม์เพียง 11 พรรษาขึ้นครองราชย์ได้ไม่ทันไรก็ถูกปลงพระชนม์อีก
ในที่ สุดก็ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าสบโอกาสยกทัพผ่านด่านเจดีย์ 3 องค์
เข้ามาปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดินำกองทัพออกรับสู้
ในช่วงนี้เองที่หน้า ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวีรกรรมของวีรสตรีพระองค์หนึ่ง
คือ สมเด็จพระศรี สุริโยทัย ที่ปลอมพระองค์ออกรบด้วย และได้ไสช้างเข้าขวาง
สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ จนถูกฟันสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง
ทุกวัน นี้อนุสาวรีย์เชิดชูวีรกรรมของพระองค์ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ใจกลาง
เมืองพระนครศรีอยุธยา
ครั้งนั้นเมื่อพม่ายึดพระนครไม่สำเร็จ เพราะไม่ชำนาญภูมิ ประเทศ
กองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องยกทัพกลับไปในที่สุด ฝ่ายไทยก็ตระเตรียม
การป้องกันพระนครเพื่อตั้งรับการรุกราน ของพม่าที่จะมีมาอีก การเตรียมกำลังผู้คน
การคล้องช้างเพื่อจัดหาช้างไว้ เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกครั้งนี้
ทำให้มีการพบช้างเผือกถึง 7 เชือก อันเป็นบุญบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์
แต่นั่นกลับนำมาซึ่งสงคราม ยืดเยื้อยาวนานอยู่นับสิบปี
พระเจ้าบุเรงนอง ผู้นำพม่าคนใหม่อ้างเหตุการณ์ต้องการช้างเพื อกที่
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีอยู่ถึง 7 เชือก ยกทัพมาทำสงครามกับ
กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง แล้วไทยก็เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2112
ช้างเผือกอัน เป็นสาเหตุของสงครามก็ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับผู้คนจำนวนมาก
พระ นเรศวรและพระเอกาทศรถ พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่พม่าตั้งให้
เป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยาต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชก็ทรงถูกบังคับ ให้ต้องไปด้วย
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในครั้งนี้อยู่ถึง 15 ปี พระ นเรศวรก็ประกาศอิสรภาพ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้ว กองทัพพม่านำโดย พระมหาอุปราชก็คุมทัพลงมาปราบ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตั้งที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี
แล้วการรบครั้งยิ่งใหญ่ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ
พระมหาอุปราชถูกฟัน สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง เป็นผลให้กองทัพพม่าต้องแตกพ่ายกลับไป
ยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง
ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นตามมา
อันส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด
ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว
นับตั้งแต่สมัยพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรี อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า
ทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทาง เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมากต่างก็ชื่นชม
เมืองที่โอบล้อมไปด้วยแม่ น้ำลำคลอง ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้เรือเป็นพาหนะ
จึงพากันเรียกพระ นครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก
หลังจากโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้ว ฮอลันดา
ญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีนซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
อยู่ก่อนแล้ว ชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ
ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน
บันทึกของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้คัด ลอกมา เล่าถึงพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้นไว้ว่า เป็นพระนครที่มีผู้คนต่างชาติต่างภาษารวมกันอยู่ ดูเหมือนเป็น ศูนย์กลางการค้าขายในโลก ได้ยินผู้คนพูดภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา
ในบรรดาชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในยุคแรกนั้น ญี่ปุ่น กลับเป็นชาติที่มี
อิทธิพลมากที่สุด ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่นได้รับ ความไว้วางใจถึงขั้นได้
ดำรงตำแหน่งขุนนางในราชสำนักของพระเอกาทศ รถ มียศเรียกว่า ออกญาเสนาภิมุข
ต่อมาได้ก่อความยุ่งยากขึ้นจด หมดอิทธิพลไปในที่สุด
แม้จะมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายด้วยมากมาย แต่กรุงศรี อยุธยาก็ดูเหมือน
จะผูกพันการค้ากับจีนไว้อย่างเหนียวแน่น จีนเองก็ส่ง เสริมให้อยุธยาผลิต
เครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะเครื่องสังคโลก เพื่อส่งออก ไปยังตะวันออกกลาง
และหมู่เกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้
กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษี
อยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก
นอกเหนือจากความเป็นเมืองท่าแล้ว อยุธยายังเป็นชุมทางการ ค้าภายในอีกด้วย
ตลาดกว่า 60 แห่งในพระนคร มีทั้งตลาดน้ำ ตลาดบก และยังมีย่านต่าง ๆ
ที่ผลิตสินค้าด้วยความชำนาญเฉพาะด้าน มีย่านที่ ผลิตน้ำมันงา ย่านทำมีด
ย่านปั้นหม้อ ย่านทำแป้งหอมธูปกระแจะ ฯลฯ คูคลองต่าง ๆ ในอยุธยา
ได้สร้างสังคมชาวน้ำขึ้นพร้อมไปกับวิถี ชีวิตแบบเกษตรกรรม เมื่อถึงหน้าน้ำก็มี
การเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง
งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น
พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป
พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว
อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น
อยุธยาเจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อ
สินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของ
ราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการ
ก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม
ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่
ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายัง
กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระจเาปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยา
เป็นครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวย
ที่สุดในภาคตะวันออกนี้
พระนครแห่งนี้ ภายนอกอาจดูสงบงดงามและร่มเย็นจากสายตา ของคน
ภายนอก แต่แท้จริงแล้วบัลลังก์แห่งอำนาจภายในของกรุงศรี อยุธยาไม่เคยสงบ
เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต การแย่งชิงอำนาจได้
ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.2172 ราชวงศ์สุโขทัยที่ครองราชย์
สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยของพระมหาธรรมราชาก็ถูกโค่นล้ม พระเจ้า
ปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น ใหม่
แม้จะครองบัลลังก์จากการโค่นล้มราชวงศ์อื่นลง ยุคสมัยของ พระองค์และ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง 60 ปีนั้น กลับ เรียกได้ว่าเป็น
ช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรง
มุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลป กรรมและการค้ากับต่างประเทศ
ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติ
เขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม
พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลป กรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้
ทางด้านการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาค้า ขายกับกรุงศรีอยุธยา
จนทำให้เมืองลิสบอนของโปรตุเกสกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าเครื่องเทศ
และพริกไทยในยุโรปนานเกือบศตวรรษแล้ว ฮอลันดาจึงเริ่มเข้ามาสร้างอิทธิพลแข่ง
กรุงศรีอยุธยาสร้างไมตรีด้วยการให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่พวก ดัตช์ เพื่อถ่งดุล
กับชาวโปรตุเกสที่เนิ่มก้าวร้าวและเรียกร้องสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกขณะ
พอถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง การค้าของฮอลันดาเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาก
จึงเริ่มแสดงอิทธิพลบีบคั้นไทย ประกอบกับพระคลังในสมัยนั้นได้
ดำเนินการผูกขาดสินค้าหลายชนิด รวมทั้งหนังสัตว์ที่เป็นสินค้าหลักของ
ชาวดัตช์ ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงขั้นจะใช้กำลังกันขึ้น
ถึงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาก็คุกคามหนัก ขึ้น
ในที่สุดก็เข้ายึดเรือสินค้าของพระนารายณ์ที่ชักธงโปรตุเกสในอ่าวตัง เกี๋ย
ต่อมาไม่นานก็นำเรือ 2 ลำเข้ามาปิดอ่าวไทย เรียกร้องไม่ให้จ้างชาว จีน ญี่ปุ่น
และญวนในเรือสินค้าของอยุธยา เพื่อปิดทางไม่ให้อยุธยาค้า ขายแข่งด้วย
มีการเจรจากันในท้ายที่สุด ซึ่งผลจากการเจรจานี้ทำให้ ฮอลันดาได้สิทธิ์ผูกขาด
หนังสัตว์อย่างเดิม
เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ
สมเด็จพระนารายณ์จึงหัน ไปเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศสแทน ในช่วงนี้เอง
ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับ ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด บุคคลผู้หนึ่งที่
ก้าวเข้ามาในช่วงนี้และต่อไปจะได้มี บทบาทอย่างมากในราชสำนักสยาม ก็คือ
คอนแสตนติน ฟอลคอน
ฟอลคอนเป็นชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ราวกลาง
รัชสมัย และเจริญก้าวหน้าจนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ในเวลาอันรวดเร็ว เวลาเดียว
กันกับที่ฟอลคอนก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักไทย ฝรั่งเศสในราชสำนักกของ
พระเเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาติดต่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาก็พยายามเกลี้ยกล่อม
ให้สมเด็จพระนารายณ์หันมาเข้ารีตนิกกายโรมันคาทอลิกตามอย่างประเทศฝรั่งเศส
ในช่วงเวลานี้ได้มีการส่งคณะทูตสยามเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี
ทางฝรั่งเศสเองก็ส่งคณะทูตเข้ามาในสยามบ่อยครั้ง โดยมีจุดประสงค์หลักคือชัก
ชวนให้พระนารายณ์ทรงเข้ารีต ฟอลคอนเองซึ่งเปลี่ยนมานับถือนิกาย โรมันคาทอลิก
ตามภรรยา ไดด้สมคบกับฝรั่งเศสคิดจะเปลี่ยนแผ่นดินสยามให้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ดังเช่นใน พ.ศ. 2228 โดยราชทูตเชอวาเลีย เดอโชมองต์, ปี พ.ศ. 2230 โดยลาลูแบร์
ก็กลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนให้พระเจ้าแผ่น ดินสยามหันมาเข้ารีต
ไม่นานชาวสยามก็เริ่มชิงชังฟอลคอนมากขึ้น อิทธิพลของฟอลคอนที่มีต่อราช
สำนักกสยามก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวน หนัก
ไม่สามารถว่าราชกาลได้ มีรับสั่งให้ฟอลคอนรีบลาออกจากราชการและไป เ
สียจากเมืองไทย แต่ก็ช้าไปด้วยเกิดความวุ่นวายขึ้นเสียก่อน พระเพทราชาและ
คณะผู้ไม่พอใจฝรั่งเศสจับฟอลคอนไปประหารชีวิต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ
สวรรคตในเดือนต่อมาพระเพทราชาก็เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติแทน
การเข้ามาของยุโรปจำนวนมากในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จ
พระนารายณ์ นอกจากจะทำให้บ้านเมืองมีความมั่งคั่งแล้ว ยังก้าวหน้าไปด้วยวิทยา
การสมัยใหม่ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ การทหาร มีการ
ก่อสร้างอาคาร ป้อมปราการ พระที่นั่งในพระราชวังเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีแบบ
ตะวันตก นอกจากนี้ภาพวาดของชาวตะวันตกยังแสดงให้เห็นว่ามีการส่องกล้องดู
ดาวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
ความขัดแย้งภายในเมื่องจากการแย่งชิงราช สมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชา
จนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่อย่าง
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา
การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย
ในรัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม
เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ
มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ
เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น
ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม
ด้วยเสียงดนตรัและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา
แต่ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ
ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง ทำให้อีกไม่ถึง 10 ปีต่อ
มากรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พพม่าในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2310
กรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าบรมโกศจนถึงสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น
คล้ายกับพลุที่จุดขึ้นสว่างโร่บนท้องฟ้าชั่วเวลาเพียงไม่นานแล้วก็ดับวูบลงทันที
วักรุงแตกเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เล่ากัยว่าในกำแพงเมืองมีผู้คนหนีพม่า
มาแออัดอยู่นับแสนคน ปรากฏว่าได้ถูกพม่าฆ่าตายไปเสียกว่าครึ่ง ที่เหลือก็หนี
ไปอยู่ตามป่าตามเขา พม่าได้ปล้นสะดม เผาบ้านเรือน พระราชวังและวัดวาอาราม
ต่างๆจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังหลอมเอาทองที่องค์พระและกวาดต้อนผู้คนกลับ
ไปจำนวนมาก อารยธรรมที่สั่งสมมากว่า 400 ปี ของกรุงศรีอยุธยาก็ถูกทำลาย
ลงอย่างราบคาบเมื่อสิ้นสงกรานต์ปีนั้น
หลังจากกรุงแตกแล้วพม่าก็มิได้เข้ามาปกครองสยามอย่างเต็มตัว คงทิ้งให้สุกี้
พระนายกองตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย สภาพบ้าน
เมืองหลังจากเสียแก่พม่าแล้วก็มีชุมนุมเกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ได้แก่ ชุมนุม เจ้าฝาง
ชุมนุมเจ้าตาก ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ที่ต่าง
ก็ซ่องสุมผู้คนเพื่อเตรียมแผนการใหญ่
ในบรรดาชุมนุมใหญ่น้อยเหล่านี้ ชุมนึมพระเจ้าตากได้เติบโตเข้มแข็งขึ้นเมื่อ
ยึดได้เมืองจันทบุรี กองทัพพระเจ้าตากใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมผู้
คนตระเตรียมเรือรบ แล้วจึงเดินทัพทางทะเลขึ้นมาจนถึงเมืองธนบุรี เข้ายึด
เมืองธนบุรีได้แล้ว ไม่นานก็ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกในวันที่ 7 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2310 นับรวมเวลาในการกอบกู้เอกราชไม่ถึงหนึ่งปี
สมดังคำที่ว่า "กรุง ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี"
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
การปกครองสมัยสุโขทัย
การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรักทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
ความรุ่งโรจน์ของกรุงสุโขทัย
แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 200 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
"กลางเมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้"
กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีเถร มหาเถร.."
ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น "มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง..."
นอกจากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมของสุโขทัย คือ สรีดภงส์ พร้อม กับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์
ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม
ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่า ถึง 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
การขนส่งเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ในด้านการค้า ได้ทรงเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้น ที่เรียกว่า" ตลาดปสาน "เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งแดนใกล้ แดนไกล นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศ สนใจนำสินค้ามาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ทำให้ชาวสุโขทัย รู้จักติดต่อกับคนต่างเมือง ต่างภาษา รู้จักวัฒนธรรมของเมืองอื่น ดังศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า
"เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...."
ในด้านการปกครอง
สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า "ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝู่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."
การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
ด้วยกรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ปี พ.ศ. 1866 รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย
ในด้านพุทธศาสนา
พ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิต
ชนชาติไทย นิยมเลื่อมใสในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) ผสมผสานกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มาแต่บรรพกาล จนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงอัญเชิญศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระองค์ทรงยึดมั่นในทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง จึงทำให้บรรดาข้าราชการและราษฎร พากันยึดถือเป็นแบบตามพระเจ้าแผ่นดินไปด้วย ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขไท ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุน ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ทรงโปรดให้สร้าง ขดารหินมนังษีลาบาตร ในป่าตาลขึ้น เป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น "อาสน์สงฆ์" สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษาสูงระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่ง แสดงธรรมแก่อุบาสก บรรดาชาวเมืองพากันถือศีลในวันพระ
พระยาเลอไท ซึ่งเป็นราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระราชบิดา ได้นำ แบบอย่างพระพุทธศาสนา " ลัทธิลังกาวงศ์ " มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังแก่ชาวสุโขทัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาอีกมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
การสงครามของอาณาจักรสุโขทัย
ในแผ่นดินของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกกองทัพไปช่วย และมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน"
จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
1. ใช้กำลังทางทหาร ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว
เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน
เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 200 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
"กลางเมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้"
กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีเถร มหาเถร.."
ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น "มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง..."
นอกจากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมของสุโขทัย คือ สรีดภงส์ พร้อม กับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์
ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม
ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่า ถึง 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
การขนส่งเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ในด้านการค้า ได้ทรงเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้น ที่เรียกว่า" ตลาดปสาน "เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งแดนใกล้ แดนไกล นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศ สนใจนำสินค้ามาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ทำให้ชาวสุโขทัย รู้จักติดต่อกับคนต่างเมือง ต่างภาษา รู้จักวัฒนธรรมของเมืองอื่น ดังศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า
"เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...."
ในด้านการปกครอง
สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า "ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝู่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."
การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
ด้วยกรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ปี พ.ศ. 1866 รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย
ในด้านพุทธศาสนา
พ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิต
ชนชาติไทย นิยมเลื่อมใสในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) ผสมผสานกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มาแต่บรรพกาล จนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงอัญเชิญศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระองค์ทรงยึดมั่นในทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง จึงทำให้บรรดาข้าราชการและราษฎร พากันยึดถือเป็นแบบตามพระเจ้าแผ่นดินไปด้วย ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขไท ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุน ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ทรงโปรดให้สร้าง ขดารหินมนังษีลาบาตร ในป่าตาลขึ้น เป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น "อาสน์สงฆ์" สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษาสูงระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่ง แสดงธรรมแก่อุบาสก บรรดาชาวเมืองพากันถือศีลในวันพระ
พระยาเลอไท ซึ่งเป็นราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระราชบิดา ได้นำ แบบอย่างพระพุทธศาสนา " ลัทธิลังกาวงศ์ " มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังแก่ชาวสุโขทัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาอีกมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
การสงครามของอาณาจักรสุโขทัย
ในแผ่นดินของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกกองทัพไปช่วย และมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน"
จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
1. ใช้กำลังทางทหาร ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว
เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน
เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)