วิชาก้าวทันโลกศุกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1


                     กฎหมาย




ความหมายของกฏหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของกฏหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย 
"กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
ดร.สายหยุด แสงอุทัย
"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ
จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย


กฎหมายปัจจุบันจำต้องมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้จึงจะชื่อว่าเป็น "กฎหมาย"
          1. กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ กล่าวคือ ต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน ใช้วัดและกำหนดความประพฤติของสมาชิกในสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้เป็นต้น เช่น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเชิญชวนให้ประชาชนสวมใส่ชุดดำเนื่องในการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ไม่เป็นกฎหมาย เพราะไม่ใช่ข้อกำหนดที่บ่งบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก ไม่อาจวัดเป็นมาตรฐานได้ว่าการแต่งชุดดำเช่นนั้นแล้วเป็นการถูกกฎหมาย การไม่แต่งผิดกฎหมาย และที่สำคัญ ประกาศนั้นเป็นแต่การเชิญชวน มิได้เป็นการบังคับ เป็นต้น
          2. กฎหมายกำหนดความประพฤติของบุคคล กล่าวคือ กฎหมายควบคุมแต่ความประพฤติของบุคคลเท่านั้น มิได้ก้าวล่วงเข้าไปถึงจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่าศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณีควบคุมมนุษย์ได้ลึกซึ้งยิ่งกว่ากฎหมาย และกฎหมายนั้นหยาบกว่าสิ่งเช่นว่า ทั้งนี้ ความประพฤติที่จะถูกควบคุมมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และ 2) การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเช่นนั้นอยู่ภายในความควบคุมของจิตใจ กล่าวอีกชั้นคือ บุคคลรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่
          3. กฎหมายมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (: sanction) ของกฎหมายนั้นมีทั้งที่เป็นผลร้าย เช่น โทษทางอาญา และผลดี เช่น การลดภาษีเงินได้
          สำหรับสภาพบังคับที่เป็นผลดีนั้น ในความจริงแล้วมนุษย์มิใช่จะปฏิบัติตามกฎหมายเพราะเกรงจะได้รับผลร้ายเท่านั้น แต่อาจเพราะมีแรงจูงใจด้วย เช่น บทบัญญัติในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ว่า "ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการ..." เป็นต้น
          4. กฎหมายมีกระบวนการอันเป็นกิจจะลักษณะ ในอดีต สำหรับการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบางทีก็ใช้ระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่สังคมสมัยใหม่ซึ่งมีการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ กล่าวคือ รัฐออกกฎหมายและรัฐเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับใช้กฎหมายโดยประชาชนเลย เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่ากระทำเกินเลยต่อคนที่อ่อนแอกว่าได้ กับทั้งจะเกิดความวุ่นวายประการอื่น ๆ
          กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ รัฐกระทำผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ฯลฯ
          อย่างไรก็ดี มีการเว้นให้ประชาชนบังคับใช้กฎหมายได้เองเป็นกรณีพิเศษ คือ 1) กรณีเพื่อการป้องกันตามกฎหมายอาญา เช่น การป้องกันตนเองจากภัยที่ใกล้จะถึง และการป้องกันนั้นไม่เกินกว่าเหตุ เป็นต้น และ 2) กรณีที่ได้รับนิรโทษกรรมตามกฎหมายแพ่ง เช่น กรณีเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หากไปแจ้งทางราชการจะไม่ทันท่วงที กรณีเช่นนี้บุคคลไม่ต้องใช้สินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นต้น










ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็นจริง
2. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ
3. พระราชกำหนด มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิดสมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก
5. กฎกระทรวง มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันที
สำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก







ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย

สามารถดู กฎหมายไทย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฏีกา พระราชกำหนด และความรู้กฎหมาย ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ ได้ที่ http://www.thailaws.com
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น