วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553
งาน
1.ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงสุโขทัย
2.ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยางานพิเศษ "วันวิสาขบูชา"
3.ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี
4.ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
5.การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
6.เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
7.การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
8.ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย
9.รัฐสภาไทย
10.รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
11.ศาลยุติธรรมไทย
12.การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
อย่าเพิ่งตกใจว่าม๊ากมากเหลือเกิน บ่นออดบ่นแอดนะครับ มีเวลาก็ค่อย ๆทำไปนะครับ เอาว่าให้เวลาพวกเราให้ทำเสร็จกันทุกคนนะครับ พยายามกันหน่อยนะครับ เข้าใจว่าลำบากกันไม่น้อยแต่ต้องอดทนให้ม๊ากมากนะ แล้วความสำเร็จจะบังเกิดกับศิษย์รักของครูทุก ๆ คนครับ มีอะไรคับข้องอึดอัดใจ ทำไม่ได้บ่นกับครูได้นะครับทาง facebook นะครับ ถือว่าคุณครูขอร้องแล้วกันครับ
วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553
รัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน) อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ ซึ่งได้กำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ ซึ่งได้กำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย
'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'
จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้
พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร
ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534)
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น
รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ
กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ
กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง
รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป
กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491 พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ
กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง
กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ
รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง
กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี
ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว
กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520
กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528 พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482 หน้า.
การเปลี่ยนแปลการครอง 24 มิถุนาน 2475
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า
คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ
วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา
คณะกบฏ ร.ศ.130
คณะกบฏ ร.ศ. 130
ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) มีสมาชิกประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ คน มีจุดมุ่งหมายวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์อังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่น
ทางการจึงเข้าจับกุมตัวการสำคัญในการคบคิดวางแผนการในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
ผู้ถูกจับกุมชุดแรกคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนทหารบก ถูกจับที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม, นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ถูกจับที่บ้านถนนสุรศักดิ์ และนายร้อยตรีเจือ ศิลาอาศน์ สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ถูกจับที่กรมเสนาธิการทหารบก
การจับกุมตัวทหารผู้ก่อการกำเริบครั้งนี้ทำการหลายระลอก เฉพาะในวันแรกคือวันที่ ๑ มีนาคม จับกุมตัวนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ค้นพบจากบ้านขุนทวยหารพิทักษ์ ๕๘ คน เมื่อจับกุมมาได้ก็ให้มีการเขียนคำชี้แจงแบบซัดทอด ทำให้มีการขยายวงการสืบสวนออกไป และภายใน ๒ วัน ทางการก็จับกุมตัวผู้ต้องหาซัดทอดกันไปมาได้กว่าร้อยคน ส่วนผู้ต้องสงสัยแต่ยังไม่มีหลักฐานจับกุมเพียงพอก็ได้แต่งคนสะกดรอยเพื่อหาหลักฐานมัดตัวต่อไป เพราะหากหลักฐานไม่แน่นพอแล้วไปจับกุม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงเกรงว่า จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจไปมาก
จากการสอบสวนของคณะกรรมการสรุปผลการสอบสวนและพิจารณาคดีซึ่งได้กราบบังคมทูลต่อองค์พระประมุขเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) มีความโดยย่อดังต่อไปนี้
คณะกลุ่มทหารบก นายทหารเรือ และบุคคลพลเรือนได้สมคบคิดกันเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก ๗ ครั้งรวมเป็น ๘ ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
สองครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ตำบลสาทร
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่โบสถ์ร้างวัดช่องลม ช่องนนทรี
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ทุ่งนาห่างจากสถานีรถไฟคลองเตย ประมาณ ๖๐๐ เมตร
ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่สวนผักของพระสุรทัณฑ์พิทักษ์ บิดาของนายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุทธยา ที่ตำบลศาลาแดง
ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์, วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย
การประชุมครั้งแรกที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์นั้น เป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน คือ
นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ สังกัดกรมแพทย์ทหารบก อายุ ๓๐ ปี
นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๐ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีสิริ ชุณห์ประไพ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๕ ปี
นายร้อยตรีปลั่ง บูรณะโชติ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรีสอน วงษ์โต สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๓ ปี
นายร้อยตรีจรูญ ษะตะเมษ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๖ ปี
คณะ ร.ศ. ๑๓๐ เป็นกลุ่มปัญญาชนในยุคใหม่ที่จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีพื้นฐานการศึกษาอย่างดีเพราะวิชาที่กำหนดสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกอยู่ในมาตรฐานสูง นายทหารบางนายที่ถูกจับกุมยังอยู่ในระหว่างศึกษาเพิ่มเติม เช่น นายทหารบก ๑๐ นาย กำลังศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ส่วนผู้ไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกก็เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาสูง เช่น ร.อ. ขุนทวยหารพิทักษ์ และ พ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ จบจากโรงเรียนแพทย์และเป็นแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ก็จบเนติบัณฑิตย์ รับราชการเป็นนายทหารประจำกรมพระธรรมนูญ และเป็นครูสอนวิชาปืนกล
ยังมีข้าราชการพลเรือนอีกหลายคน เช่น นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายเซี้ยง สุวงศ์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิ์เศรณี) นายน่วม ทองอินทร์ (พระนิจพจนาตก์) นายเปล่ง ดิษยบุตร (หลวงนัยวิจารณ์) ซึ่งล้วนมาจากกระทรวงยุติธรรมและสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย
ที่ประชุมได้ตกลงเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครองออกเป็น ๒ แบบคือ
ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกุรณาโดยละม่อม
"รีปับลิค" (Republic) จะทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
คณะ ร.ศ. ๑๓๐ วางสายบังคับบัญชามีหัวหน้า ๓ คน มีนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ หัวหน้าคนที่ ๑ นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง หัวหน้าคนที่ ๒ และร้อยโทจือ ควกุล หัวหน้าคนที่ ๓ และยังแบ่งแยกหน้าที่ให้กับสมาชิกต่างๆ ตามสายงานดังนี้
หน้าที่ปกครอง : นายร้อยโทจรูญ
หน้าที่เสนาธิการ : นายร้อยโทจือ มีนายร้อยโททองดำ เป็นผู้ช่วย
หน้าที่การเงิน : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ มีนายร้อยโทจรูญ เป็นผู้ช่วย
หน้าที่กฎหมาย : นายร้อยโทจรูญ มีนายร้อยโททองดำ เป็นผู้ช่วย
หน้าที่ต่างประเทศ : นายพันตรีหลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์
หน้าที่บัญชีพล : นายร้อยตรีเขียน นายร้อยตรีโกย นายร้อยตรีปลั่ง
หน้าที่จัดการเลี้ยงดู : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์
หน้าที่สืบข่าวส่งข่าว : นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ นายร้อยตรีบ๋วย นายร้อยตรีเนตร นายร้อยตรีสอน
หน้าที่แพทย์ : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์
ที่ปรึกษาทั่วไป : นายร้อยโทจรูญ
คณะผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ เริ่มประชุมกันกลางเดือนมกราคม และหลังจากนั้นเพียง ๖ อาทิตย์ก็ถูกจับกุม แม้สมาชิกแทบทุกคนลงความเห็นว่าเป็นเพราะนายร้อยเอกยุทธ หรือนายร้อยเอกยุทธกาจกำจร (แต้ม คงอยู่) ซึ่งกำลังจะไปรับตำแหน่งผู้บังคับกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๗ พิษณุโลก เข้ามาเป็นสมาชิกในการประชุม ๒ ครั้งหลัง และนำเรื่องทั้งหมดไปทูลหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติเกษมสันต์ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ และก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพะเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
นายร้อยเอกยุทธยังเป็นคนเดียวในคณะที่ไม่ถูกลงโทษ และทางราชการยังได้ปูนบำเหน็จด้วยการส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่กรุงปารีสเพื่อหลีกหนีภัยที่อาจเกิดขึ้น จากนายทหารที่ถูกจับกุมจะเจ็บแค้นและสั่งให้พรรคพวกที่อยู่นอกคุกตาม "เก็บ"
อย่างไรก็ตาม คณะ ร.ศ. ๑๓๐ ก็ยังมีข้อบกพร่องในการดำเนินการอีกหลายประการ จนทำให้ถูกจับกุมดังต่อไปนี้
การดำเนินการ โดยเฉพาะการเสาะแสวงหาสมาชิกหละหลวม ไม่รัดกุม ไม่มีการกลั่นกรองว่าใครจะชวนใคร ไม่มีมาตรการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่างชักชวนกันเรื่อยเปื่อยไม่เลือกหน้า พอเห็นหน้าใครที่พอรู้จักและเป็ฯทหาร ก็ชักชวนกันง่ายๆ ด้วยคำถามทำนองเช่น "อยากเป็นคนหัวเก่าหรือหัวใหม่" "อยากเป็นคนโง่หรือคนฉลาด" ถ้าอยากเป็นคนหัวใหม่ หรือเป็นคนฉลาดก็ให้ไปประชุมที่นั่น ที่นี่ มีเรื่องสำคัญจะเล่าให้ฟัง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำร่วมสาบานจะเป็นเครื่องผูกมัดให้คนซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อพรรค การประชุมก็ขาดความจริงจัง ราวกับเป็นการชุมนุมสังสรรค์เพื่อนมากกว่าจะเป็นการประชุมเพื่อการก่อการปฏิวัติล้มล้างอำนาจทางราชการ
ขาดแผนการ ไม่ว่าจะเป็นแผนเล็กหรือแผนใหญ่ การประชุมขาดระเบียบ ไม่มีวาระการประชุม มีการพูดจาทุ่มเถียงอึกทึก ดูแล้วเหมือนวงเหล้าเสวนานินทาเจ้านาย นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดตัวว่าใครเป็นหัวหน้ากลุ่มชัดเจน เมื่อมีการจับกุมทางการยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าหัวหน้าขบวนการคือใคร ในที่สุดก็ต้องสรุปเอาว่า นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ และนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง เป็นหัวหน้ากลุ่ม เพราะเป็นผู้ที่พูดมากที่สุดในการประชุมแต่ละครั้ง
ตั้งอยู๋ในความประมาท การจับกลุ่มชุมนุมแต่ละครั้ง มีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของราชการ ตลอดจนตำหนิติเตียนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระมัดระวังและไม่สนใจว่าเป็นการกระทำที่มีโทษมหันต์ ไม่มีการระแวดระวังสอดแนมติดตามดูการเคลื่อนไหวทางการ เช่นนายร้อยเอกยุทธเข้าร่วมประชุมในคืนวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์แล้ว วันรุ่งขึ้นก็เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และในคืนนั้นเองก็ยังกลับเข้าร่วมการประชุม เพื่อแสวงหาความลับอีก นอกจากนี้นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ยังขาดความระมัดระวังพกรายชื่อสมาชิกผู้เข้าร่วมก่อการติดตัวไว้โดยไม่จำเป็น เมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่สามารถค้นรายชื่อสมาชิกจากรายชื่อดังกล่าวได้ถึง ๕๘ ชื่อ ไม่รวมรายชื่อที่ถูกรายงานโดยนายร้อยเอกยุทธอีก ๒๖ ชื่อ
การซัดทอดกันเองในกลุ่ม เมื่อแรกถูกจับกุมทางการไม่มีหลักฐานใดมากไปกว่ารายชื่อของนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ และรายงานราชการลับของนายร้อยเอกยุทธ แต่ภายหลังเมื่อมีการไต่สวน บุคคลที่ถูกจับต่างซัดทอดกันเองบานปลายไปเกี่ยวข้องกับคนอีกจำนวนมาก แต่ก็เป็นไปได้ว่าการไต่สวนนั้นอาจมีการขุ่มขู่หรือผู้ถูกสอบสวนขาดปฏิภาณไหวพริบและการต่อสู้กับวิธีการสอบสวน นอกจากผู้เป็นทนายและนักเรียนกฎหมายบางคนเช่น นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา พอมีชั้นเชิงตอบโต้กับการไต่สวนได้บ้าง
โดยสรุปแล้วคณะ ร.ศ. ๑๓๐ ถูกจับกุมเนื่องจากขาดการวางแผน ตั้งอยู่ในความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนทรยศและซัดทอดผู้ร่วมสาบาน นายร้อยโทกินสุน แพทย์ทหาร ซึ่งเคยเข้าร่วมประชุมและให้การเป็นพยานโจทก์ก็ให้ความเห็นว่า "พวกที่คิดๆ โดยมากเป็นเด็กๆ มุทะลุ ตึงตัง ทำอะไรเห็นเป็นการสำเร็จทั้งนั้น"
แม้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ มีรับสั่งว่าเรื่อง ร.ศ. ๑๓๐ เป็นเรื่องของคนหนุ่มตามยุคตามสมัย ไม่มีอะไรรุนแรง บางทีจะถูกลงโทษบ้าง คนละ ๓ ปี ๔ ปีเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริง ทางการได้ลงความเห็นมาตั้งแต่ราวกลางเดือนเมษายนแล้วว่า พวกก่อการกำเริบมีความผิดฐานพยายามจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๙๗ และฐานพยายามกบฏตามมาตรา ๑๐๒ ต่างมีโทษประหารชีวิตทุกคน
ในที่สุดคณะพิจารณาคดีก็ตัดสินโทษโดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมกระทำความผิดมากน้อยเพียงใด โดยมีโทษหนักที่สุดคือประหารชีวิต จนมาถึงเบาที่สุดคือจำคุก ๑๒ ปี มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต ๓ นายคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ในฐานะ "เป็นคนต้นคิดและหัวหน้าคณะแห่งคนพวกนี้ที่ปรากฎว่าคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองและคิดกระทำการถึงประทุษร้ายต่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า "คงเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธ" และ นายร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์ "ซึ่งเข้าร่วมประชุมสามครั้ง ภายหลังคิดเกลี้ยกล่อมคนจะเข้าแย่งพรรคพวกที่ถูกขังในเวลาใดเวลาหนึ่ง สุดแต่จะมีโอกาสกับพยายามประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า "เห็นว่า กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้
เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ ๓ คน ซึ่งวางโทษไว้ในคดีพิพากษาของกรรมาการว่าเป็นโทษชั้นที่ ๑ ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ ๒ ให้จำคุกตลอดชีวิต แลบรรดาผู้มีชื่อ ๒๐ คน ซึ่งวางโทษไว้เป็นชั้นที่ ๒ ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ ๓ คือ ให้จำคุกมีกำหนด ๒๐ ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป แต่บรรดาผู้ที่มีชื่ออีก ๖๘ คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ ๓ ให้จำคุก ๒๐ ปี ๓๒ คน และวางโทษชั้นที่ ๔ ให้จำคุก ๑๕ ปี ๖ คน และวางโทษชั้นที่ ๕ ให้จำคุก ๑๒ ปี ๓๐ คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๔๑ และ ๔๒ ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ ๓ คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ ๒ กับผู้ที่มีชื่อ ๒๐ คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ ๓ รวม ๒๓ คน ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียม ซึ่งเคยมีกับโทษเช่นนั้น..."
คณะ ร.ศ. ๑๓๐ จึงถูกจำคุกจริงๆ ๒๕ คน โดยถูกคุมขังในคุกมหันตโทษ (คุกต่างประเทศ) ๒๓ คน และเรือนจำนครสวรค์ ๒ คน ทั้งหมดต้องโทษถูกคุกขังอยู่ ๑๒ ปี ๖ เดือน ๖ วัน จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ครบรอบปีที่ ๑๕ ของการครองราชย์ ระหว่างต้องโทษมีผู้เสียชีวิต ๒ คนคือ นายร้อยตรีวาส วาสนา หลังจากต้องโทษ ๔ ปี ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค และ หลังจากนั้นอีก ๒ ปี นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร ถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้
อาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"
การปฏิรูปสมัย ร.5
การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453
องค์กร
ผู้บังคับบัญชา
กระทรวงมหาดไทย มณฑลเทศาภิบาลเมือง แขวง (อำเภอ) ตำบล หมู่บ้าน
เสนาบดีข้าหลางเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการเมือง หมื่น (นายอำเภอ) พัน (กำนัน) ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์
มูลเหตุของการปรับปรุงการปกครอง
เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปรแตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมาก ทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "..การปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้ ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดยสะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง......"
ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทางตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จากประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า "Scientific expedition" เป็นเครื่องมือโดยอาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออกเดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทยมิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว
มูลเหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความอยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนครบาลในการพิจารณาความพระราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้ ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะเป็นไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรมก็อยากจะเลิกถอนเสีย"
นอกจากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรงนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Councilof state)ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10 - 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน ปีร.ศ.113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทนทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญกับผู้ที่ประการหนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์
เนื่องจากในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีฝรั่งชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศไทยหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นได้ยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือยอมให้ฝรั่งตั้งศาลขึ้นเรียกว่าศาลกงศุลขึ้นพิจารณาความของคนในบังคับของตนได้อันเป็นการไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของกฏหมายไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าฝรั่งถือว่ากฏหมายและวิธีพิจารณาความของประเทศไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนดีพอการที่ฝรั่งต่างประเทศมีศาลกงศุลพิจารณาความของคนในบังคับของตนนั้นทำให้ประเทศไทย มีความยุ่งยากทางการปกครองเกิดขึ้นเสมอ จึงทรงมีพระราชประสงค์จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฏหมายของประเทศให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่เชื่อถือแก่ต่างประเทศเพื่อขจัดความยุ่งยากอันเกิดจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงได้มีการปรับปรุงด้านตุลาการครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
นอกจากนี้มีผู้รู้ คือ วรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิดโอกาสให้จักรรดิ์นิมยตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสมายประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฏเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาส ก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อนล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนา ในแง่เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฏหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติและชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามีความป่าเถื่อน ล้าหลัง
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังจากเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้ทรงมีพระราชดำริหารือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย และที่ปรึกษาได้เสนอความเห็นว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรจัดให้มีการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องดังกล่าวแก่ประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิฉะนั้นผลที่ได้จากการพระราชทานรัฐธรรมนูญก็จะไม่ตามพระราชปณิธานที่ตั้งไว้แต่เดิม
การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2475ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสิ้นสุดลงในระยะ2-3 วันแรก คณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลายไม่ใช่เป็นของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้ คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2.สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร 4. ศาล กล่าวคือพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรอำนาจบริการร่วมกับคณะกรรมการราษฎรและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ระบอบการปกครองตามแบบกฏหมายฉบับนี้คล้ายกับระบบปกครองโดยรัฐสภา ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการราษฎรที่จะจะควบคุมการบริหารซึ่งคณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้ และมีอำนาจที่จะถอนกรรมการราษฎรออกจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญนี้สถาบันทางการเมือง คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการราษฎร
ลักษณะการปกครองตามธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475
ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างจากฉบับแรกในสาระสำคัญหลายประการ เช่น
1. ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา (Parliamentarysystem) ทั้งนี้เพราะว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข แห่งรัฐไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดินแต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนซึ่งมีอำนาจที่จะลงมติให้ความไว้วางใจหรือไม่ให้ความไว้วางใจ อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีต้องออกจากตำแหน่งได้การปกครองตามระบบรัฐสภาควบคุมนี้ รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายของนิติบัญญัติ คือ ออกกฏหมายเท่านั้น แต่ว่ามีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
2. เนื่องจากได้ใช้ระบบรัฐสภาควบคุมการบริการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 จึงได้วางหลักให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีอำนาจควบคุมกัน กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติแม้จะมี อำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารก็ตามแต่คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจยุบสภาผู้แทนได้เมื่อเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาของตนที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้นตามรัฐธรรมนูญนี้ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ซึ่งหมายความว่าผู้ใดจะฟ้องร้อง พระมหากษัตริย์ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใด และพระมหากษัตริย์ไม่ทรงรับผิดชอบทางการ เมือง แต่ตามพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวยังให้อำนาจสภาผู้แทนที่จะ วินิจฉัยได้เมื่อพระมหากษัตริย์มีกรณีที่ถูกฟ้องร้อง โดยได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์จะถูก ฟ้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้เป็นหน้าที่ของสภาจะวินิจฉัยแต่ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2475 ทั้งศาล และสภาผู้แทนไม่มีอำนาจวินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับความคุ้ม กันที่จะไม่ถูกฟ้องร้องด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาฯไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนักแต่ส่วนประกอบของ สภาผู้แทนได้บัญญัติไว้เพียง 2 สมัย คือ
สมัยที่1 นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว 2475 สภาประกอบ ด้วยสมาชิก 2 ประเภทเท่ากันคือ ประเภท1 ราษฎรเลือกตั้ง ประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งและมิได้ห้ามการตั้งสมาชิกประเภท 2 จากข้าราชการประจำ
สมัยที่2 เมื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกมีการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาสามัญ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดหรืออย่างช้าไม่เกิน10ปีนับแต่วัยใช้พระราชบัญญัติการ ปกครองสยามชั่วคราว สภาจะประกอบด้วยสมาชิกประเภทเดียวแต่เรื่องนี้ต่อมาได้มีรัฐ ธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พ.ศ. 2485 ได้ขยายเวลาของสมัยที่ 2 นี้ ออกเป็น 20 ปีนับแต่วันใช้พระราชบัญญัติการปกครองสยามชั่วคราว
5. ด้านบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีที่ทรงแต่ง ตั้งคณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบเป็นส่วนรวมต่อสภาฯ และเป็นการเฉพะตัวสำหรับรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ว่าการกระทรวงแต่ก็มิใช่อยู่ที่สภาแต่งตั่งเหมือนคณะกรรมการราษฎรและมิได้มี อำนาจถอดถอนได้นอกจากลงมติไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีต้องลาออกนอก จากนี้ยังให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้อำนาจบริหารในนามของพระมหากษัตริย์ และมีอำนาจปกครองประเทศด้วยโดยได้เลิกตำแหน่งเสนาบดีทั้งหมดและตั้งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงขึ้นแทน
ประวัติศาสสตรืสมัยกรุงธนบุรี
การกอบกู้เอกราช
ดูบทความหลักที่ การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย" และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี
การรวมชาติและการขยายตัว
ดูเพิ่มที่ สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และ การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี
การสิ้นสุด
ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของปร
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ
เศรษฐกิจ
ในช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากสงครามกับพม่าอย่างหนัก มีการขาดแคลนอาหารเนื่องจากขาดการทำนามานาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์และท้องพระคลังเพื่อซื้อข้าวมาบรรเทาความอดอยากของผู้คนทั้งหลาย และยังเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านที่หนีไปอยู่ตามป่าเขากลับมาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น
สังคม
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1.พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
2.พระบรมวงศานุวงศ์
3.ขุนนาง
4.ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5.ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา
วัฒนธรรม
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น
วรรณกรรม
ถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2313 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชกาลพระองค์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้มี 4 ตอน แบ่งออกเป็น 4 เล่ม
หลวงสรวิชิต (หน) หรือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
หลวงสรวิชิต (หน) แต่งไว้ทั้งหมด 2 เรื่อง ในสมัยกรุงธนบุรี
ลิลิตเพชรมงกุฎ แต่งระหว่างปี พ.ศ. 2310 -2322
อิเหนาคำฉันท์ แต่งปี พ.ศ. 2322
นายสวน มหาดเล็ก
โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่งเมื่อ พ.ศ. 2314
พระยามหานุภาพ
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือ นิราศกวางตุ้ง แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2324