วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 หน่วยที่ 2
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บร
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งดังนี้
กฎหมายแพ่ง 1 (Civil Law1)
หน่วยที่ 1 การใช้การตีความกฎหมายและบททั่วไป
1. วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์พื้นฐานหลายประการ ที่ผู้ศึกษากฎหมายจำเป็นต้องศึกษาหลักเกณฑ์พื้นฐานทางความคิดเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทำให้การศึกษากฎหมายเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ และมีความคิดที่เป็นระบบ
2. การศึกษากฎหมายก็เพื่อใช้กฎหมาย และในการใช้กฎหมายนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมายโดยผู้ที่ใช้กฎหมายด้วย
3. หลักเกณฑ์ที่สำคัญประการหนึ่งของกฎหมายก็คือกฎหมายจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล และบุคคลผู้มีสิทธินั้นก็ต้องใช้สิทธิให้ถูกต้อง
4. ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ได้บัญญัติบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่อาจนำไปใช้กับกรณีต่างๆ ไว้ในลักษณะ 1
1.1 การใช้และการตีความกฎหมาย
1. การใช้กฎหมายมีความหมาย 2 ประการ คือ การบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ประการหนึ่ง และการใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง
2. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงนั้นผู้เกี่ยวข้อง และได้รับผลจากกฎหมายก็อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ใช้กฎหมายทั้งสิ้น
3. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงยังอาจแบ่งเป็นการใช้โดยตรงและโดยเทียบเคียง
4. การตีความกฎหมายของกฎหมายแต่ละระบบ หรือแต่ละประเทศก็มีการตีความที่แตกต่างกัน และกฎหมายแต่ละประเภทกันก็ยังมีหลักเกณฑ์ในการตีความที่แตกต่างกัน
5. กฎหมายที่ใช้อยู่อาจมีช่องว่างในการใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนั้นอาจกำหนดวิธีการไว้หรือบทกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการไว้ ก็ต้องเป็นไปตามหลักทั่วไป
1.1.1 การใช้กฎหมาย
การใช้กฎหมายมี 2 ประเภท คือ การใช้กฎหมายโดยตรงและ การใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง
การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงโดยตรงกับการใช้โดยเทียบเคียงเกิดขึ้นพร้อมกันได้ การใช้กฎหมายโดยตรงต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายก่อน โดยการศึกษากฎหมายในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้รู้ถึงความหมายหรือเจตนารมย์ของกฎหมายก่อน แล้วจึงมาพิจารณาว่าตัวบทกฎหมายนั้นสามารถปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้หรือไม่ การใช้กฎหมายโดยการเทียบเคียง กฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแม้พยายามให้รอบคอบเพียงใดบ่อยครั้งพบว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติไว้โดยตรงที่สามารถยกมาปรับแก่คดีได้ จำเป็นต้องหากฎหมายมาใช้ปรับแก่คดีให้ได้ โดยพยายามหากฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่พอจะใช้ปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ
1.1.2 การตีความกฎหมาย
การตีความตามเจตนารมณ์กับการตีความตามตัวอักษร การตีความในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายมีความกำกวมไม่ชัดเจน หรืออาจแปลความหมายไปได้หลายทางการตีความตามกฎหมายจะแยกพิจารณาจะต้องแยกพิจารณาออกเป็น หลักการตีความกฎหมายทั่วไป กับหลักการตีความกฎหมายพิเศษ
หลักเกณฑ์การตีความกฎหมายทั่วไป เป็นการหาความหมายที่แท้จริงของกฎหมาย จำเป็นต้องพิเคราะห์ตัวกฎหมายและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของกฎหมาย หรือเจตนารมย์ของกฎหมาย การพิเคราะห์กฎหมายมี 2 ด้าน คือ
(1) พิเคราะห์ตัวอักษร
(2) พิเคราะห์เจตนารมย์ หรือเหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมาย
การตีความตามกฎหมายพิเศษ มีหลักการตีความของตนเองโดยเฉพาะ
หลักเกณฑ์ในการหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์บางประการที่จะช่วยหาเจตนารมณ์บางประการของกฎหมายหลักคือ
1) หลักที่ถือว่ากฎหมายมีความมุ่งหมายที่จะใช้บังคับได้ในบางกรณี กฎหมายอาจแปลความได้หลายนัย ทำให้กฎหมายไร้ผลบังคับ ปัญหาว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายจะใช้ความหมายใดต้องถือว่ากฎหมายมีเจตนาจะให้มีผลบังคับได้จึงต้องถือเอานัยที่มีผลบังคับได้
2) กฎหมายที่เป็นข้อยกเว้นไม่มีความมุ่งหมายที่จะให้ขยายความออกไป กล่าวคือ กฎหมายที่เป็นบทยกเว้นจากบททั่วไปหรือกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติตัดสิทธินั้นหากมีกรณีที่แปลความได้อย่างกว้างหรืออย่างขยาย กับแปลความอย่างแคบ ต้องถือหลักแปลความอย่างแคบเพราะกฎหมายประเภทนี้ไม่มีความมุ่งหมายให้แปลความอย่างขยายความ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)